Get in touch

02-100-6897

admin@emcthai.com


8/65 Soi Anamai Ngamcharoen 25,

Tha Kham, Bang Khun Thian, BKK 10150


Follow us
Energy Medical Center
(Thailand)

เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์พลังงาน หนึ่งในการแพทย์ทางเลือก ที่จะมาช่วยให้คุณแก้เรื่องปัญหาเรื่องสุขภาพจากภายใน

emcthai.com

วิธีคลายเครียด เคล็ดลับดีๆ จากกรมสุขภาพจิต ช่วยให้เราไม่คิดมาก

Healthy Body • Aug 13, 2022

เคล็ดลับบอกลาความเครียด ป้องกันอาการคิดมาก

เคล็ดลับบอกลาอาการเครียด

กำลังเครียดหนัก เครียดจนนอนไม่หลับหรือเปล่าคะ ? ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ณ ขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การแพร่กระจายของโรคโควิด-19 สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และผลกระทบอื่น ๆ จำนวนมาก ทำให้ผู้คนจะต้องแบกรับกับภาระที่หนักอึ้ง ทั้งภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการว่างงาน และปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย สั่งสมมานานจนเกิดผลกระทบต่อสภาพจิตใจที่ตัวบุคคล นี่จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดว่า ทำไมอัตราของผู้ที่เป็นโรคเครียดนั้นจึงมีสถิติที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน ก่อนอื่นที่่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยการมองหากิจกรรมคลายเครียดง่าย ๆ ไม่ต้องพึงยานอนหลับ เพื่อช่วยลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา เรามาเริ่มทำความรู้จักกับ สภาวะความเครียดไปพร้อม ๆ กันนะคะ

ความเครียดเกิดขึ้นเมื่อคนๆ นั้นรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ต่างจากคนที่รู้ว่า ตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์นั้นๆ ได้ ด้วยเหตุและปัจจัยในขณะนั้นซึ่งมักเครียดน้อยกว่าหรือไม่เครียดเลย

ความเครียดที่เหมาะสมจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และเติบโต แต่ถ้าความเครียดนั้นมีมากเกินไปก็มักจะส่งผลเสีย การรู้จักความเครียด จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำไปปรับใช้ในการปรับตัวหรือศึกษาเพิ่มเติมให้เกิดประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันต่อไป

ในปัจจุบัน สังคมโลกกำลังรับมือและประสานมือกับโรคระบาดอุบัติใหม่ เช่น จากไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ในทุกๆ ด้านที่กระทบต่อผู้คนทุกเพศทุกวัย ทุกประเทศ

จำนวนผู้คนที่ติดเชื้อและเจ็บป่วย รวมทั้งเสียชีวิตจำนวนมาก นำไปสู่ความเครียดทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่งผลกระทบต่อกันไปทุกระบบ

ดังนั้น การรู้จักความเครียด จะช่วยให้ผู้อ่านได้เตรียมตัวเตรียมใจในการปรับตัวเพื่อรับมือกับความเครียดและปรับสมดุลสมองได้ดีขึ้นได้

ความเครียดคืออะไร? ใช่อาการคิดมากไหม

ความเครียดคืออะไร?

ภาวะความเครียด คือ สภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นด้วยความกดดัน ความกลัว ความวิตกกังวล จนกระทั้งส่งผลต่อสภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์และความรู้สึก ทำให้เกิดการแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น หงุดหงิดง่าย โมโหร้ายตลอดเวลา เป็นต้น เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มใช้สมองในการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดเป็นความเครียดเท่ากับคุณกำลังเริ่มทำลายการทำงานของระบบประสาทและสมองของคุณอย่างที่คาดไม่ถึง เพราะนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายผิดปกติ เริ่มจากการผลิตหรือการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดเพี้ยน ความเหนื่อยล้าของร่างกาย เริ่มเกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณท้ายทอย การทำงานของลำไส้แปรปรวน ปวดศีรษะเป็นเวลานาน และยิ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเครียดนอนไม่หลับ เครียดลงกระเพาะได้

ด้วยความน่ากลัวของสภาวะความเครียดที่มีพอ ๆ กับความน่ากลัวของสภาพแวดล้อม ณ ขณะนี้ สิ่งที่จะเข้ามาช่วยบรรเทาความตึงเครียดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ นั่นก็คือหาจัดสรรกิจกรรมคลายเครียดให้กับตนเองเพื่อสามารถรับมือกับความเครียดและสามารถขจัดความเครียด ก่อให้เกิดวิถีแห่งความสุขและคุณภาพชีิวิตที่ดีขึ้น เมื่อไม่มีความเครียด

ความเครียด เป็นกลไกตามธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อใช้ตอบสนองต่อสถานการณ์ยากท้าทาย หรืออันตราย เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเจอ

ความเครียด คือ ภาวะที่ไม่สบายใจหรือความกังวล ที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ไม่ตรงกับความรู้สึกหรือความคาดหวัง เช่น เมื่อต้องฝืนทำสิ่งที่ไม่ชอบ หรือไม่ได้ทำสิ่งที่อยากทำ นี่คือความเครียด

ความเครียดจึงเป็นเรื่องส่วนบุคคล ในสายตาคนทั่วไป งานนั้นอาจน่าเบื่อ แต่ถ้าคนๆ นั้นรู้สึกชอบหรือสนุกที่จะทำ งานนั้นจะไม่เป็นความเครียด

สรุปคร่าวๆ ความเครียดก็คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย นั่นเอง ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องมีอยู่เสมอในการดำรงชีวิต เช่น การทรงตัว เคลื่อนไหวทั่วๆไป มีการศึกษาพบว่าทุกครั้งที่เราคิดหรือมีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นจะต้องมีการหดตัว เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแห่งใดแห่งหนึ่ง ในร่างกายเกิดขึ้นควบคู่เสมอ

ความเครียด มีทั้งประโยชน์และโทษ แต่ความเครียดที่เป็นโทษนั้น เป็นความเครียดชนิดที่เกินความจำเป็น แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับกลายเป็นอุปสรรคและอันตรายต่อชีวิต เมื่อคนเราอยู่ในภาวะตึงเครียด ร่างกายก็จะเกิดความเตียมพร้อมที่จะ “สู้” หรือ “หนี” โดยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น

  1. หัวใจเต้นแรงและเร็วขึ้น เพื่อฉีดเลือดซึ่งจะนำอ๊อกซิเจนและสารอาหารต่างๆไปเลี้ยงเซลล์ทั่วร่างกาย พร้อมกับขจัดของเสียออกจากกระแสเลือดอย่างเร็ว
  2. การหายใจดีเร็วขึ้น แต่เป็นการหายใจตื้นๆ
  3. มีการขับครีนาลีนและฮอร์โมนอื่นๆเข้าสู่กระแสเลือด
  4. ม่านตาขยายเพื่อให้ได้รับแสงมากขึ้น
  5. กล้ามเนื้อหดเกร็งเพื่อเตรียมการเคลื่อนไหว เตรียมสู้หรือหนี
  6. เส้นเลือดบริเวณอวัยวะย่อยอาหารหดตัว
  7. เหงื่อออก เพราะมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้น ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มขึ้น

อาการวิตกกังวล และประเภทของความเครียด

ความเครียดคืออะไร?

ประเภทของความเครียดแบ่งเป็น 2 แบบตามระยะเวลา คือ

  1. 1. ความเครียดระยะสั้นหรือฉับพลัน เช่น ทะเลาะกับเพื่อน คนใกล้ชิดเสียชีวิตสอบตก การหย่าร้อง
  2. 2. ความเครียดเรื้อรังและสะสม เมื่อเจอสถานการณ์ที่ทำให้เครียดอยู่ซ้ำๆ เช่น การเรียน หรือทำงานที่มีความกดดันสูง ปัญหาการเงิน

ความเครียดมีหลายประเภท ได้แก่

  • cute stress ภาวะเครียด หรือความเครียดที่เกิดขึ้นทันที
  • pisodic acute stress ความเครียดที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง
  • hronic stress ความเครียดเรื้อรัง


ความหมาย โรควิตกกังวล
โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) คือ โรคทางจิตใจที่มีความรุนแรงกว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลจะพบว่ามีความวิตกกังวลและอาการอื่น ๆ ต่อเนื่องและอาการไม่หายไป หรืออาจมีอาการที่แย่ลงได้ในที่สุด

โรควิตกกังวลทำให้เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียนหนังสือ และการรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็สามารถจัดการกับอาการและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้

โรควิตกกังวลมีหลายประเภท เช่น โรคแพนิค (Panic Disorder) โรคกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD) โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder) หรือโรคกลัวแบบจำเพาะ (Specific Phobias) เป็นต้น


อาการของโรควิตกกังวล

อาการของโรควิตกกังวลขึ้นอยู่กับประเภทของโรควิตกกังวล โดยอาการทางกายและใจที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ได้แก่

  • มีอาการตื่นตระหนก กลัว และไม่สบายใจ
  • ไม่สามารถอยู่ในความสงบได้ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย หงุดหงิด ไม่มีสมาธิ
  • มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
  • มือและเท้าเย็น หรือเหงื่อแตก
  • หายใจตื้น
  • ใจสั่น
  • เจ็บหน้าอก
  • ปากแห้ง
  • มีอาการเหน็บชาที่มือและเท้า
  • มีอาการคลื่นไส้
  • เวียนศีรษะ
  • ปวดศีรษะ
  • กล้ามเนื้อตึงเกร็ง
  • มีความอ่อนล้า เหนื่อยง่าย
  • มีอาการสั่น

นอกจากนั้น ในแต่ละประเภทยังมีอาการเฉพาะ ดังต่อไปนี้

  • อาการของโรคแพนิค (Panic Disorder)  เช่น เหงื่อออก เจ็บหน้าอก ใจสั่น รู้สึกสำลัก มีความรู้สึกเหมือนตนเองเป็นโรคหัวใจหรือเหมือนจะเป็นบ้า
  • อาการของโรคกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD)  เช่น มีความเครียดหรือมีความกังวลมากเกินไปจากความเป็นจริง ถึงแม้ว่าจะมีสาเหตุเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีสาเหตุที่ไปกระตุ้นให้เกิดอาการกังวลได้
  • อาการของโรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder)  เช่น มีความกังวลที่รุนแรงมากหรือมีความระมัดระวังตัวเกินเหตุในสถานการณ์ทางสังคมต่าง ๆ ที่ต้องพบเจอตามปกติในชีวิตประจำวัน โดยความกังวลที่เกิดขึ้นมักเป็นความกลัวการตัดสินจากผู้อื่น หรือกลัวว่าจะเกิดความอับอายและถูกล้อเลียน
  • อาการของโรคกลัวแบบจำเพาะ (Specific Phobias)  ผู้ป่วยจะมีความกลัวอย่างรุนแรงต่อสิ่งของหรือสถานการณ์เฉพาะ เช่น กลัวความสูง กลัวการเข้าสังคม และกลัวสัตว์บางชนิด ซึ่งจะกลัวในระดับที่ต้องพยายามหลีกเลี่ยงสถานการณ์ปกติในชีวิตประจำวัน

ความเครียดส่งผลต่อร่างกายและสมองอย่างไร

ความเครียดส่งผลต่อร่างกาย

ความเครียดส่งผลต่อสมอง เกิดการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกและกระตุ้นการหลั่งคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) จากต่อมหมวกไต ให้อวัยวะต่างๆ ตื่นตัว เพื่อเตรียมร่างกายเข้าสู่ภาวะพร้อมสู้หรือหนี


คือ ใจเต้นรัว ความดันเลือดสูง หลอดเลือดหดตัว หายใจถี่และสั้น ซึ่งถือเป็นอาการผิดปกติของร่างกาย หากอยู่ในภาวะเครียดนานๆ ร่างกายและจิตใจจะได้รับผลกระทบจากอาการผิดปกติเหล่านี้


ความเครียดที่กระทบกระเทือนอารมณ์รุนแรงส่งผลทำให้สมองฝ่อได้ โดยเฉพาะสมองส่วนอะมิกดาลา (อารมณ์ดิบ) และไฮโพทาลามัส (ศูนย์รวมสัญชาตญาณ) เกิดเป็นโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจรุนแรง


ความเครียดส่งผลกระทบต่อสมดุลการทำงานของสมอง ดังนี้

  • ระบบประสาทอัตโนมัติ คือระบบซิมพาเทติก และพาราซิมพาเทติก
  • ฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) จากต่อมหมวกไต
  • สารสื่อประสาททั้งสี่แห่งความสุข-สงบ คือ โดพามีน ออกซิโทซิน ซีโรโทนิน เอ็นดอร์ฟิน

เวลาคิดมาก ทำไมจึงเครียดมากขึ้น

ในปัจจุบันคนเรามีความเครียดมากขึ้น เนื่องมาจาก

  • รูปแบบความสัมพันธ์ของคนในสังคมที่เปลี่ยนไป ทำให้ขาดการพูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ต่างคนต่างอยู่
  • ค่านิยมและรูปแบบการทำงานไม่เหมือนเดิม บางคนต้องทำหน้าที่ซ้ำๆ ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย บางคนทนทำงานที่ตนไม่ชอบ เพราะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่างานที่ชอบ
  • เทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว
  • สังคมโลกออนไลน์
  • วิถีชีวิตมนุษย์ที่ไม่สมดุลกับธรรมชาติ
  • การขาดทักษะในการคิดและแก้ปัญหา
  • ติดกับดักทางความคิดที่ทำให้เครียดที่พบบ่อยคือ ความคิดอัตโนมัติ การเปรียบเทียบกรอบความคิด

วิธีรับมือหรือจัดการความเครียด ที่ช่วยให้ไม่คิดมาก

วิธีรับมือความเครียด

ส่วนเหตุการณ์เล็กๆ กระจุกกระจิกที่บางครั้งอาจมองข้ามไป เช่น รถติด ที่ทำงานอยู่ไกลบ้าน แฟนมาสาย เงินเดือนออกไม่ตรงตามเวลา ก็ทำให้เครียดได้โดยไม่รู้ตัว หากจัดการกับความเครียดเหล่านี้ได้ก็จะดีขึ้น จึงขอแนะนำ วิธีการบริหารจัดการกับความเครียด ที่สามารถฝึกฝนเพื่อคลายความเครียดด้วยตนเองได้หลายวิธี ดังนี้


1. การอออกกำลังกาย

การออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโนทิน (สารสงบ) ช่วยลดความเครียดได้

สิ่งสำคัญคือ ต้องสนุกกับกิจกรรมที่ทำ เช่น ชนิดกีฬาที่ชอบ การเดินเล่นที่เพลินใจ แต่ถ้าทำเพราคิดว่าดี แล้วฝืนทำและทำมากเกินไป ก็จะกลายเป็นผลเสีย ดังนั้นเราต้องสนุกและทำแต่พอดี การฝืนใจทำส่งผลให้สูญเสียพลังสมองอย่างมาก


2. การฝึกหายใจ

การหายใจเพื่อคลายเครียด โดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลมบริเวณหน้าท้องแทนการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก โดยหายใจเข้าลึกๆ นับ 1-4 ช้าๆ รู้สึกว่า ท้องพองออก หลังจากนั้นค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก นับ 1-8 ไล่ลมหายใจออกมาให้หมด สังเกตว่าหน้าท้องแฟบ ควรทำติดต่อกัน 4-5 ครั้ง

การหายใจแบบนี้ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น สมองแจ่มใส ร่างกายสดชื่น

ออกกำลัง-เคลื่อนไหว เพื่อลดความเครียดและห่างไกลโรคซึมเศร้า

การออกกำลังกาย สามารถช่วยลดความเครียดและจัดเป็นยาต้านเศร้าที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรคซึมเศร้าที่อาการไม่รุนแรง

มีงานวิจัยเมื่อปี พ.ศ.2562 ในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน หรือแบบที่ใช้แรงต้านอย่างต่อเนื่องเป็นประจำตั้งแต่ 8-16 สัปดาห์ สามารถทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นได้อย่างชัดเจน

คำแนะนำ :

  • เราควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก วันละ 20-30 นาที อย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
  • ขณะออกกำลังกายจะช่วยให้เราหยุดกังวลและจดจ่อกับปัจจุบันได้มากขึ้น


3. จัดสรรตารางกิจกรรมในชีวิตประจำวันและลงมือทำจริงๆ

  • การจดบันทึกสิ่งที่จะทำและเวลาที่จะทำ จะช่วยลดความกังวลในการทำสิ่งที่ตั้งใจ โดยจัดความสำคัญของสิ่งที่จำเป็นต้องทำ และลดหรืองดสิ่งที่ยังรอได้
  • การทำกิจกรรมที่ช่วยเพิ่มความรู้สึกว่า ฉันทำได้ คือ การกำหนดเป้าหมาย หรือสิ่งที่จะทำทุกวันอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากกิจกรรมเล็กๆ เช่น ตื่นเช้ากว่าเดิม 30 นาที ทักทายคนที่ทำงาน อย่างน้อย 2 คน ดื่มน้ำเปล่าแทนน้ำอัดลม เป็นต้น


4. ให้รู้สึกขอบคุณ

การพูดคำขอบคุณนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้คนที่ได้ฟังต่างรู้สึกดี แต่การที่ผู้พูดจะรู้สึกดีไปด้วยนั้นอยู่ที่ความรู้สึกขอบคุณที่เกิดขึ้นภายในใจ เพราะความรู้สึกขอบคุณประกอบด้วยความซาบซึ้ง ความประทับใจ และการรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ

ความรู้สึกขอบคุณ คือ ยาต้านความเครียดตามธรรมชาติ เป็นการเริ่มต้นของพลังบวกที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างสมองส่วนคิดกับสมองที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก เช่น การฝึกขอบคุณร่างกายตนเองก่อนนอน


5. หัวเราะบ้าง

การหัวเราะทำให้ร่างกายหลั่งสารโดพามีน (สารสำเร็จ) ซึ่งช่วยลดความเครียด และทำให้คอร์ติซอล (ฮอร์โมนเครียด) กลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงขึ้น

ขณะที่หัวเราะ จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ดีขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปด้วยดี ซึ่งช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นคลายความเศร้าหมอง จิตใจสงบ และช่วยให้สมาธิและความทรงจำดีขึ้น


6. อาหารช่วยให้อารมณ์ดี

  • อาหารที่มีทริปโตเฟน (วัตถุดิบในการสร้างสารซีโรโทนิน) เช่น ชีส นมวัว ไข่แดง อัลมอนด์ ถั่วแระญี่ปุ่น เป็นต้น
  • อาหารที่มีวิตามินบี เช่น กล้วย มีวิตามินบี 6 (ส่วนประกอบในการสร้างนอร์เอพิเนฟรินและโดพามีน)
  • อาหารที่มีวิตามินซี เช่น มะเขือเทศ ฝรั่ง มะละกอ สับปะรด มะนาว ส้ม กีวี เมื่อมีความเครียด ร่างกายจะสูญเสียวิตามินซีมากกว่าปกติ 8 เท่า
  • อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวโอเมกา-3 (DHA, EPA) มีทริปโตเฟนช่วยในการสร้างซีโรโทนิน เช่น ปลา แซลมอน ทูน่า ซาร์ดีน แมกเคอเรล และถั่วเปลือกแข็ง
  • ข้าวกล้อง มีโพเลตและกรดแพนโทเทนิก (ไบโอติน) ช่วยลดความกังวลและทำให้อารมณ์คงที่
  • ดาร์กช็อกโกแลต มีฟลาโวนอยด์จากโกโก้ที่ช่วยลดปริมาณคอร์ติซอล (ฮอร์โมนเครียด) ในร่างกาย (ควรเลือกดาร์กช็อกโกแลตที่มีความเข้มข้นของโกโก้ร้อยละ 70 ขึ้นไป)


อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • อาหารที่มีแป้ง ไขมัน เกลือ และน้ำตาลสูง เช่น ชานมไข่มุก ไกทอด แฮมเบอร์เกอร์ เพราะน้ำตาลสูงมีผลต่อนำตาลในเลือดเพิ่มและลดอย่างรวดเร็ว เกลือทำให้ความดันเลือดสูงและตื่นเต้นง่าย ไขมันสูงทำให้เส้นเลือดอุดตัน

Follow Us

Keep up with our latest news


ขวดน้ำคริสตัลบำบัด (Crystal Bottle) ขวดน้ำอัญมณีธรรมชาติบำบัด
By EMC Thailand 21 Apr, 2022
ขวดน้ำคริสตัลทำงานอย่างไร และประโยชน์ของขวดน้ำคริสตัล มีอะไรบ้าง ขวดน้ำคริสตัลบำบัด (Crystal Bottle) ขวดน้ำอัญมณีธรรมชาติบำบัด วิธีเลือกขวดน้ำคริสตัลบำบัด
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น (Herniated Disc) ปวดหลังรักษาด้วยจักระ
By EMC Thailand 21 Apr, 2022
อาการของ โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท สัญญาณเตือน โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น (Herniated Disc) ปวดหลังรุนแรงอย่าวางใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนโรคอันตราย
โรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis) รักษาได้ด้วยจักระ
By EMC Thailand 13 Jan, 2022
ทำความรู้จักกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ว่าโรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis) คืออะไร ทำไมสามารถรักษาได้ด้วยการแพทย์ทางเลือก รูปแบบการรักษาโรคด้วยพลังจักระ ช่วยให้คุณรู้ทันอาการและการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้าม
วิธีเลือกหินคริสตัลบำบัด
By EMC Thailand 12 Oct, 2021
ไม่ว่าคุณจะเจ็บป่วยแบบไหนก็ตาม จะมีหินคริสตัลบำบัดที่สามารถช่วยเหลือคุณได้ เพียงแต่คุณรู้คุณสมบัติของหิน และวิธีการเลือกหินคริสตัลบำบัดที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณอย่างเท้จริง
ขวดน้ำคริสตัลบำบัด (Crystal Bottle) ขวดน้ำอัญมณีธรรมชาติบำบัด
By EMC Thailand 21 Apr, 2022
ขวดน้ำคริสตัลทำงานอย่างไร และประโยชน์ของขวดน้ำคริสตัล มีอะไรบ้าง ขวดน้ำคริสตัลบำบัด (Crystal Bottle) ขวดน้ำอัญมณีธรรมชาติบำบัด วิธีเลือกขวดน้ำคริสตัลบำบัด
โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น (Herniated Disc) ปวดหลังรักษาด้วยจักระ
By EMC Thailand 21 Apr, 2022
อาการของ โรคหมอนรองกระดูกสันหลัง กดทับเส้นประสาท สัญญาณเตือน โรคหมอนรองกระดูกทับเส้น (Herniated Disc) ปวดหลังรุนแรงอย่าวางใจ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนโรคอันตราย
โรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis) รักษาได้ด้วยจักระ
By EMC Thailand 13 Jan, 2022
ทำความรู้จักกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ว่าโรคต่อมน้ำเหลืองอักเสบ (Lymphadenitis) คืออะไร ทำไมสามารถรักษาได้ด้วยการแพทย์ทางเลือก รูปแบบการรักษาโรคด้วยพลังจักระ ช่วยให้คุณรู้ทันอาการและการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคร้ายใกล้ตัวที่ไม่อาจมองข้าม
วิธีเลือกหินคริสตัลบำบัด
By EMC Thailand 12 Oct, 2021
ไม่ว่าคุณจะเจ็บป่วยแบบไหนก็ตาม จะมีหินคริสตัลบำบัดที่สามารถช่วยเหลือคุณได้ เพียงแต่คุณรู้คุณสมบัติของหิน และวิธีการเลือกหินคริสตัลบำบัดที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณอย่างเท้จริง
Share by: