02-100-6897
admin@emcthai.com
8/65 Soi Anamai Ngamcharoen 25,
Tha Kham, Bang Khun Thian, BKK 10150
กำลังเครียดหนัก เครียดจนนอนไม่หลับหรือเปล่าคะ ? ผลกระทบจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ณ ขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์การแพร่กระจายของโรคโควิด-19 สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และผลกระทบอื่น ๆ จำนวนมาก ทำให้ผู้คนจะต้องแบกรับกับภาระที่หนักอึ้ง ทั้งภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ปัญหาการว่างงาน และปัญหาอื่น ๆ ร่วมด้วย สั่งสมมานานจนเกิดผลกระทบต่อสภาพจิตใจที่ตัวบุคคล นี่จึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดว่า ทำไมอัตราของผู้ที่เป็นโรคเครียดนั้นจึงมีสถิติที่เพิ่มขึ้นในทุก ๆ วัน ก่อนอื่นที่่จะเข้าไปแก้ไขปัญหาด้วยการมองหากิจกรรมคลายเครียดง่าย ๆ ไม่ต้องพึงยานอนหลับ เพื่อช่วยลดความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา เรามาเริ่มทำความรู้จักกับ สภาวะความเครียดไปพร้อม ๆ กันนะคะ
ความเครียดเกิดขึ้นเมื่อคนๆ นั้นรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ต่างจากคนที่รู้ว่า ตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์นั้นๆ ได้ ด้วยเหตุและปัจจัยในขณะนั้นซึ่งมักเครียดน้อยกว่าหรือไม่เครียดเลย
ความเครียดที่เหมาะสมจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และเติบโต แต่ถ้าความเครียดนั้นมีมากเกินไปก็มักจะส่งผลเสีย การรู้จักความเครียด จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลเบื้องต้นเพื่อนำไปปรับใช้ในการปรับตัวหรือศึกษาเพิ่มเติมให้เกิดประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันต่อไป
ในปัจจุบัน สังคมโลกกำลังรับมือและประสานมือกับโรคระบาดอุบัติใหม่ เช่น จากไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตวิถีใหม่ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ในทุกๆ ด้านที่กระทบต่อผู้คนทุกเพศทุกวัย ทุกประเทศ
จำนวนผู้คนที่ติดเชื้อและเจ็บป่วย รวมทั้งเสียชีวิตจำนวนมาก นำไปสู่ความเครียดทั้งทางตรงและทางอ้อม ส่งผลกระทบต่อกันไปทุกระบบ
ดังนั้น การรู้จักความเครียด จะช่วยให้ผู้อ่านได้เตรียมตัวเตรียมใจในการปรับตัวเพื่อรับมือกับความเครียดและปรับสมดุลสมองได้ดีขึ้นได้
Credit Link: เคล็ดลับบอกลาความเครียด (เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต)
ภาวะความเครียด คือ สภาวะทางอารมณ์และความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นด้วยความกดดัน ความกลัว ความวิตกกังวล จนกระทั้งส่งผลต่อสภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์และความรู้สึก ทำให้เกิดการแสดงออกด้วยพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น หงุดหงิดง่าย โมโหร้ายตลอดเวลา เป็นต้น เมื่อไหร่ที่คุณเริ่มใช้สมองในการคิดวิเคราะห์สิ่งต่าง ๆ รอบตัวมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดเป็นความเครียดเท่ากับคุณกำลังเริ่มทำลายการทำงานของระบบประสาทและสมองของคุณอย่างที่คาดไม่ถึง เพราะนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายผิดปกติ เริ่มจากการผลิตหรือการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดเพี้ยน ความเหนื่อยล้าของร่างกาย เริ่มเกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณท้ายทอย การทำงานของลำไส้แปรปรวน ปวดศีรษะเป็นเวลานาน และยิ่งเป็นสาเหตุหลักของอาการเครียดนอนไม่หลับ เครียดลงกระเพาะได้
ด้วยความน่ากลัวของสภาวะความเครียดที่มีพอ ๆ กับความน่ากลัวของสภาพแวดล้อม ณ ขณะนี้ สิ่งที่จะเข้ามาช่วยบรรเทาความตึงเครียดจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ นั่นก็คือหาจัดสรรกิจกรรมคลายเครียดให้กับตนเองเพื่อสามารถรับมือกับความเครียดและสามารถขจัดความเครียด ก่อให้เกิดวิถีแห่งความสุขและคุณภาพชีิวิตที่ดีขึ้น เมื่อไม่มีความเครียด
ความเครียด เป็นกลไกตามธรรมชาติของมนุษย์ เพื่อใช้ตอบสนองต่อสถานการณ์ยากท้าทาย หรืออันตราย เพื่อเตรียมรับมือกับสิ่งที่จะเจอ
ความเครียด คือ ภาวะที่ไม่สบายใจหรือความกังวล ที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ไม่ตรงกับความรู้สึกหรือความคาดหวัง เช่น เมื่อต้องฝืนทำสิ่งที่ไม่ชอบ หรือไม่ได้ทำสิ่งที่อยากทำ นี่คือความเครียด
ความเครียดจึงเป็นเรื่องส่วนบุคคล ในสายตาคนทั่วไป งานนั้นอาจน่าเบื่อ แต่ถ้าคนๆ นั้นรู้สึกชอบหรือสนุกที่จะทำ งานนั้นจะไม่เป็นความเครียด
สรุปคร่าวๆ ความเครียดก็คือ การหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของร่างกาย นั่นเอง ซึ่งทุกคนจำเป็นต้องมีอยู่เสมอในการดำรงชีวิต เช่น การทรงตัว เคลื่อนไหวทั่วๆไป มีการศึกษาพบว่าทุกครั้งที่เราคิดหรือมีอารมณ์บางอย่างเกิดขึ้นจะต้องมีการหดตัว เคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแห่งใดแห่งหนึ่ง ในร่างกายเกิดขึ้นควบคู่เสมอ
ความเครียด มีทั้งประโยชน์และโทษ แต่ความเครียดที่เป็นโทษนั้น เป็นความเครียดชนิดที่เกินความจำเป็น แทนที่จะเป็นประโยชน์กลับกลายเป็นอุปสรรคและอันตรายต่อชีวิต เมื่อคนเราอยู่ในภาวะตึงเครียด ร่างกายก็จะเกิดความเตียมพร้อมที่จะ “สู้” หรือ “หนี” โดยที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เช่น
ประเภทของความเครียดแบ่งเป็น 2 แบบตามระยะเวลา คือ
ความเครียดมีหลายประเภท ได้แก่
ความหมาย โรควิตกกังวล
โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) คือ โรคทางจิตใจที่มีความรุนแรงกว่าความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งผู้ป่วยที่เป็นโรควิตกกังวลจะพบว่ามีความวิตกกังวลและอาการอื่น ๆ ต่อเนื่องและอาการไม่หายไป หรืออาจมีอาการที่แย่ลงได้ในที่สุด
โรควิตกกังวลทำให้เกิดอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเรียนหนังสือ และการรักษาความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็สามารถจัดการกับอาการและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้
โรควิตกกังวลมีหลายประเภท เช่น โรคแพนิค (Panic Disorder) โรคกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD) โรคกลัวการเข้าสังคม (Social Anxiety Disorder) หรือโรคกลัวแบบจำเพาะ (Specific Phobias) เป็นต้น
อาการของโรควิตกกังวลขึ้นอยู่กับประเภทของโรควิตกกังวล โดยอาการทางกายและใจที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ได้แก่
นอกจากนั้น ในแต่ละประเภทยังมีอาการเฉพาะ ดังต่อไปนี้
ความเครียดส่งผลต่อสมอง เกิดการกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติกและกระตุ้นการหลั่งคอร์ติซอล (ฮอร์โมนความเครียด) จากต่อมหมวกไต ให้อวัยวะต่างๆ ตื่นตัว เพื่อเตรียมร่างกายเข้าสู่ภาวะพร้อมสู้หรือหนี
คือ ใจเต้นรัว ความดันเลือดสูง หลอดเลือดหดตัว หายใจถี่และสั้น ซึ่งถือเป็นอาการผิดปกติของร่างกาย หากอยู่ในภาวะเครียดนานๆ ร่างกายและจิตใจจะได้รับผลกระทบจากอาการผิดปกติเหล่านี้
ความเครียดที่กระทบกระเทือนอารมณ์รุนแรงส่งผลทำให้สมองฝ่อได้ โดยเฉพาะสมองส่วนอะมิกดาลา (อารมณ์ดิบ) และไฮโพทาลามัส (ศูนย์รวมสัญชาตญาณ) เกิดเป็นโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ที่กระทบจิตใจรุนแรง
ความเครียดส่งผลกระทบต่อสมดุลการทำงานของสมอง ดังนี้
ในปัจจุบันคนเรามีความเครียดมากขึ้น เนื่องมาจาก
ส่วนเหตุการณ์เล็กๆ กระจุกกระจิกที่บางครั้งอาจมองข้ามไป เช่น รถติด ที่ทำงานอยู่ไกลบ้าน แฟนมาสาย เงินเดือนออกไม่ตรงตามเวลา ก็ทำให้เครียดได้โดยไม่รู้ตัว หากจัดการกับความเครียดเหล่านี้ได้ก็จะดีขึ้น จึงขอแนะนำ วิธีการบริหารจัดการกับความเครียด ที่สามารถฝึกฝนเพื่อคลายความเครียดด้วยตนเองได้หลายวิธี ดังนี้
การออกกำลังกาย ทำให้ร่างกายหลั่งสารซีโรโนทิน (สารสงบ) ช่วยลดความเครียดได้
สิ่งสำคัญคือ ต้องสนุกกับกิจกรรมที่ทำ เช่น ชนิดกีฬาที่ชอบ การเดินเล่นที่เพลินใจ แต่ถ้าทำเพราคิดว่าดี แล้วฝืนทำและทำมากเกินไป ก็จะกลายเป็นผลเสีย ดังนั้นเราต้องสนุกและทำแต่พอดี การฝืนใจทำส่งผลให้สูญเสียพลังสมองอย่างมาก
การหายใจเพื่อคลายเครียด โดยใช้กล้ามเนื้อกะบังลมบริเวณหน้าท้องแทนการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก โดยหายใจเข้าลึกๆ นับ 1-4 ช้าๆ รู้สึกว่า ท้องพองออก หลังจากนั้นค่อยๆ ผ่อนลมหายใจออก นับ 1-8 ไล่ลมหายใจออกมาให้หมด สังเกตว่าหน้าท้องแฟบ ควรทำติดต่อกัน 4-5 ครั้ง
การหายใจแบบนี้ช่วยให้ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น สมองแจ่มใส ร่างกายสดชื่น
ออกกำลัง-เคลื่อนไหว เพื่อลดความเครียดและห่างไกลโรคซึมเศร้า
การออกกำลังกาย สามารถช่วยลดความเครียดและจัดเป็นยาต้านเศร้าที่มีประสิทธิภาพสำหรับโรคซึมเศร้าที่อาการไม่รุนแรง
มีงานวิจัยเมื่อปี พ.ศ.2562 ในกลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไปพบว่า การออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น วิ่ง ว่ายน้ำ เดินเร็ว ปั่นจักรยาน หรือแบบที่ใช้แรงต้านอย่างต่อเนื่องเป็นประจำตั้งแต่ 8-16 สัปดาห์ สามารถทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นได้อย่างชัดเจน
คำแนะนำ :
การพูดคำขอบคุณนั้น เป็นสิ่งที่ทำให้คนที่ได้ฟังต่างรู้สึกดี แต่การที่ผู้พูดจะรู้สึกดีไปด้วยนั้นอยู่ที่ความรู้สึกขอบคุณที่เกิดขึ้นภายในใจ เพราะความรู้สึกขอบคุณประกอบด้วยความซาบซึ้ง ความประทับใจ และการรู้ถึงคุณค่าของสิ่งที่ได้รับ
ความรู้สึกขอบคุณ คือ ยาต้านความเครียดตามธรรมชาติ เป็นการเริ่มต้นของพลังบวกที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างสมองส่วนคิดกับสมองที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก เช่น การฝึกขอบคุณร่างกายตนเองก่อนนอน
การหัวเราะทำให้ร่างกายหลั่งสารโดพามีน (สารสำเร็จ) ซึ่งช่วยลดความเครียด และทำให้คอร์ติซอล (ฮอร์โมนเครียด) กลับมาอยู่ในระดับที่สมดุล ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงขึ้น
ขณะที่หัวเราะ จะช่วยให้ออกซิเจนเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายได้ดีขึ้น ทำให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปด้วยดี ซึ่งช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นคลายความเศร้าหมอง จิตใจสงบ และช่วยให้สมาธิและความทรงจำดีขึ้น
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
Energy Medical Center (EMC) ประเทศไทย เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์พลังงาน หนึ่งในการแพทย์ทางเลือก ที่จะมาช่วยให้คุณแก้เรื่องปัญหาเรื่องสุขภาพจากภายใน
Call 02-100-6897
or
admin@emcthai.com
8/65 Soi Anamai Ngamcharoen 25,
Tha Kham, Bang Khun Thian, Bangkok 10150
© 2022 Energy Medical Center of Thailand. All rights reserved.